มีคนเป็นโรคไตกว่า 850 ล้านคนทั่วโลก ลองทำแบบทดสอบแค่หนึ่งนาที แล้วคุณจะรู้ว่าสุขภาพไตของคุณปกติหรือไม่

ไตมีหน้าที่หลักในการกำจัดสารพิษ ของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากเลือด นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมความดันโลหิต ผลิตเม็ดเลือดแดง และทำให้กระดูกแข็งแรง การทำงานที่ซับซ้อนและน่าทึ่งของไตทำให้เรามีสุขภาพดี หน้าที่เหล่านี้สำคัญมากจนเราจะ ไม่สามารถ ใช้ชีวิตเป็นปกติได้เลยหากไตทำงานไม่ดี 2

มี ประชากรผู้ใหญ่ จำนวน 8-10% มีความปกติของไต และ ทุก ๆ ปีจะมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรหลายล้านคนจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไต 3

โดยที่การทำงานของไตอาจสูญเสียแล้วมากกว่า 90% ก่อนที่จะแสดงอาการผิดปกติให้สังเกตเห็นได้3

ถ้าคุณอยากรู้ว่าคุณเสี่ยงต่อโรคไตหรือไม่ โปรดลองทำแบบทดสอบออนไลน์ง่ายๆ ด้านล่างนี้ หลังการทำแบบทอสอบคุณจะได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต (ข้อมูลคำตอบของคุณจะถูกเป็นความลับ)

แบบทดสอบนี้ไม่สามารถใช้ทดแทนการตรวจของแพทย์ได้ หากคุณมีข้อสงสัยหรือคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์

แบบทดสอบนี้ได้รับการสนับสนุนโดยทุนการศึกษาที่ไม่จำกัดจาก AstraZeneca และ Boehringer Ingelheim และ Lilly.

ISN Kidney Quiz

แบบทดสอบโรคไต

คำถามที่ 1 (จาก 7 ข้อ):
คุณเคยได้รับ การวินิจฉัย เป็น โรคเบาหวานหรือไม่




ISN Kidney Quiz

แบบทดสอบโรคไต

คำถามที่ 2 (จาก 7 ข้อ):
คุณเคยได้รับผลการตรวจว่า การวินิจฉัยเป็น ความดันโลหิตสูงหรือไม่




ISN Kidney Quiz

แบบทดสอบโรคไต

คำถามที่ 3 (จาก 7 ข้อ):
คุณเคยได้รับการวินิจฉัย เป็นโรคหัวใจหรือหัวใจล้มเหลวหรือไม่




ISN Kidney Quiz

แบบทดสอบโรคไต

คำถามที่ 4 (จาก 7 ข้อ):
คุณมีอาการเท้าบวม ขาบวม หรือหน้าบวมเป็นประจำหรือไม่



ISN Kidney Quiz

แบบทดสอบโรคไต

คำถามที่ 5 (จาก 7 ข้อ):
คุณมีสมาชิกครอบครัวที่เคยได้รับการปลูกถ่ายไต ล้างไต หรือได้รับการวินิจฉัยภาวะไตวายหรือไม่




ISN Kidney Quiz

แบบทดสอบโรคไต

คำถามที่ 6 (จาก 7 ข้อ):
คุณซื้อยาแก้ปวดกินเองเป็นประจำหรือไม่




ISN Kidney Quiz

แบบทดสอบโรคไต

คำถามที่ 7 (จาก 7 ข้อ):
คุณใช้ยาสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านเป็นประจำ เพื่อลดน้ำหนักหรือรักษาอาการอื่น ๆ หรือ ไม่




ISN Kidney Quiz

แบบทดสอบโรคไต









       

ISN Kidney Quiz


ผลการทดสอบ –คุณไม่มีความเสี่ยงต่อโรคไต:

คุณไม่มีปัจจัยเสี่ยงหลักต่อโรคไต แต่อาจมีความเสี่ยงอื่น

ปัจจุบันเรารู้ว่า โรคไตอาจเกิดได้จากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากสาเหตุทางการแพทย์ ได้แก่:4

  • ภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย
  • ท้องที่ ที่ทำงาน
  • อาหารที่รับประทาน
  • การออกกำลังกาย
  • การเข้าถึงบริการทางการแพทย์

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันโรคไต:

กฎทอง 8 ข้อในวันไตโลก เพื่อป้องกันโรคไต

โรคไตเป็นภัยเงียบที่กระทบคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมากแต่คุณสามารถใช้วิธีง่ายๆ เช่นกฎทอง 8 ข้!

อเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคไต



คุณอาจมีความเสี่ยงต่อโรคไต



อายุ:
เพศ:
ดัชนีมวลกาย:

คุณเคยได้รับ การวินิจฉัย เป็น โรคเบาหวานหรือไม่?
คุณเคยได้รับผลการตรวจว่า การวินิจฉัยเป็น ความดันโลหิตสูงหรือไม่?
คุณเคยได้รับการวินิจฉัย เป็นโรคหัวใจหรือหัวใจล้มเหลวหรือไม่ ?
คุณมีอาการเท้าบวม ขาบวม หรือหน้าบวมเป็นประจำหรือไม่ ?
คุณมีสมาชิกครอบครัวที่เคยได้รับการปลูกถ่ายไต ล้างไต หรือได้รับการวินิจฉัยภาวะไตวายหรือไม่ ?
คุณซื้อยาแก้ปวดกินเองเป็นประจำหรือไม่?
คุณใช้ยาสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านเป็นประจำ เพื่อลดน้ำหนักหรือรักษาอาการอื่น ๆ หรือ ไม่?

สิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม

คำตอบแบบทดสอบของคุณแสดงว่า คุณมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ไตเสื่อมการทำงานได้แก่ 4,5,6,7,16,17

  • โรคเบาหวาน
  • โรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ประวัติโรคไต ในครอบครัว เคยได้รับการปลูกถ่ายไต หรือการฟอกไต: ถ้าคุณมีสมาชิกครอบครัวที่เป็นโรคไต เคยฟอกไต หรือได้รับการปลูกถ่ายไต คุณมีโอกาสเป็นโรคไตมากขึ้น 2-3 เท่า
  • น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน การมีน้ำหนักเกินอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ทำให้เป็นโรคไตได้
  • อาการบวมที่ขา เท้า หรือใบหน้าอาจเป็นสัญญาณของโรคไต
  • การกินยาแก้ปวดเป็นประจำอาจเป็นอันตรายต่อไตได้
  • การใช้ยาสมุนไพรหรือยาพื้นบ้านเป็นประจำอาจเป็นอันตรายต่อไตได้

โรคไตยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากสาเหตุทางการแพทย์ เช่น: 5,8

  • ภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย
  • ท้องที่ที่ทำงาน
  • อาหารที่รับประทาน
  • การออกกำลังกาย
  • การเข้าถึงบริการทางการแพทย์

ปรึกษาแพทย์เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

โรคไตแสดงถึงการเสื่อมการทำงานของไตเนื่องจาก ไตได้รับความเสียหายจากความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ 4

ในการตรวจสุขภาพไต แพทย์อาจทำการตรวจตามรายการ สำหรับโรคไตและโรคหัวใจ ได้แก่

A = อัลบูมินในปัสสาวะ
B = ความดันโลหิต
C = ครีเอตินิน และคอเลสเตอรอล
D = เบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด)
E = eGFR

นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจสั่งตรวจเพิ่มเติม (ขึ้นอยู่กับความพร้อมของห้องปฏิบัติการ)เช่น:4,9

  • eGFR: ผลการตรวจเลือดเพื่อวัดว่าไตกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ดีแค่ไหน
  • uACR: การตรวจ ปริมาณอัลบูมินในปัสสาวะ
  • UPCR: การตรวจปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ
  • การตรวจปัสสาวะเก็บ 24 ชม
  • การวิเคราะห์ปัสสาวะ

คำถามเกี่ยวกับสุขภาพไตที่คุณอาจถามแพทย์ ได้แก่:

  • ไตของคุณแข็งแรงดีหรือไม่?
  • ก่อนหน้านี้ไม่นานคุณได้รับการตรวจโรคไตบ้างหรือ ไม่?
  • คุณได้รับการตรวจทั้งเลือดและปัสสาวะหรือไม่?
  • Dคุณได้รับการตรวจพบอัลบูมินหรือโปรตีนในปัสสาวะหรือ ไม่?
  • คุณควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้ไตแข็งแรง?

นอกจากนี้ ยังมีคำถามอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น:

  • จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคุณเป็นโรคไต?
  • คุณควรทำอย่างไรให้ไตแข็งแรง?
  • คุณต้องเปลี่ยนยาที่ใช้หรือไม่?
  • คุณควร มีกิจกรรมทางกายภาพเพิ่ม ขึ้นหรือไม่ ?
  • คุณควรทำกิจกรรม ทางกายภาพแบบใดบ้าง ?
  • คุณควร รับประทานอะไรบ้าง?
  • คุณควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อวางแผนโภชนาการหรือไม่?
  • คุณควร ยา ACEI หรือ ARB* เพื่อรักษาโรคไตหรือไม่ ?
  • ุณควรตรวจสุขภาพไตบ่อยแค่ไหน?

*ยา ACEI และ ARB เป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิตและ/หรือชะลอการเสื่อมการทำงานของไตที่เกิดจากโรคไตเรื้อรัง.10,11

ความน่าทึ่งของไต:

ไตเป็นอวัยวะที่ซับซ้อนอย่างน่ามหัศจรรย์ และทำหน้าที่สำคัญหลายอย่างที่ทำให้เราสุขภาพดี คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของไตได้จาก เว็บไซต์วันไตโลก.

เรื่องเล่าของไต:

เรียนรู้เรื่องราวของผู้คนทั่วโลกที่มีประสบการณ์โรคไตจากบล็อกวันไตโลก.




สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับโรคไต:

Results

ทั่วโลกมีผู้เป็นโรคไตในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมากกว่า 850 ล้านคน12

Results

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นสองสาเหตุหลักของโรคไต13

Results

โรคไตมักไม่แสดงอาการจนกว่าเป็นมากจึงจะแสดงอาการ ดังนั้นจึงควรรับการตรวจแต่เนิ่น ๆ14

Results

การรักษาแต่เนิ่นๆ สามารถชะลอโรคไตได้3

Results

นอกจากนี้ การชะลอโรคไต อาจป้องกันปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือไตวายได้3,11

Results

โรคไตยังทำให้คุณมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อภาวะแทรกซ้อนจากโควิด-19 ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตอีกด้วย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต15




แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. WebMD (2018) 850 Million People Worldwide Have Kidney Disease. Available at: https://www.webmd.com/kidney-stones/news/20180705/850-million-people-worldwide-have-kidney-disease. Accessed January 2021.
  2. National Kidney Foundation. Are you the 33%? Available at: https://www.kidney.org/newsletter/are-you-33-percent. Accessed January 2021.
  3. World Kidney Day. Chronic Kidney Disease: What is Chronic Kidney Disease? Available at https://www.worldkidneyday.org/facts/chronic-kidney-disease/. Accessed January 2021.
  4. Kidney Research UK (2018) Kidney health inequalities in the United Kingdom: Reflecting on the past, reducing in the future. Available at: https://kidneyresearchuk.org/wp-content/uploads/2019/02/Health_Inequalities_Report_Complete_FINAL_Web_20181017.pdf. Accessed January 2021.
  5. World Kidney Day. 8 Golden Rules. Available at: https://www.worldkidneyday.org/facts/take-care-of-your-kidneys/8-golden-rules/. Accessed January 2021.
  6. National Kidney Foundation (2014) Prediabetes? What does it mean for your kidneys?. Available at: https://www.kidney.org/news/kidneyCare/Summer10/PreDiabetes. Accessed January 2021.
  7. McClellan WM, et al (2009) Individuals with a family history of ESRD are a high-risk population for CKD: Implications for targeted surveillance and intervention activities, American Journal of Kidney Diseases, 53(3 S3), pp100-106.
  8. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (2016) Preventing chronic kidney disease. Available at: https://www.niddk.nih.gov/health-information/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/prevention. Accessed January 2021.
  9. National Kidney Foundation (2017) Tests to measure kidney function, damage and detect abnormalities. Available at: https://www.kidney.org/atoz/content/kidneytests. Accessed January 2021.
  10. Kidney Health Australia (2020) Chronic Kidney Disease (CKD) Management in Primary Care, 4th edition. Available at: https://kidney.org.au/uploads/resources/chronic-kidney-disease-management-in-primary-care-4th-edition-handbook.pdf. Accessed January 2021.
  11. Patient (2017) Chronic kidney disease. Available at: https://patient.info/kidney-urinary-tract/chronic-kidney-disease-leaflet. Accessed January 2021.
  12. Jager KJ, et al (2019) A single number for advocacy and communication—worldwide more than 850 million individuals have kidney diseases, Kidney International, 96(5), pp1048-1050.
  13. WebMD. Kidney Disease. Available at: https://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-kidney-disease-basic-information#1. Accessed January 2021.
  14. NHS England (2019) Overview: Chronic kidney disease. Available at https://www.nhs.uk/conditions/kidney-disease/. Accessed January 2021.
  15. Centers for Disease Control and Prevention (2020) COVID-19 (Coronavirus): People with Certain Medical Conditions. Available at: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/need-extra-precautions/people-with-medical-conditions.html#chronic-kidney-disease. Accessed January 2021.
  16. National Kidney Foundation (2014) 10 Signs You May Have Kidney Disease. Available at: https://www.kidney.org/news/ekidney/august14/10_Signs_You_May_Have_Kidney_Disease Accessed October 2021
  17. National Kidney Foundation (2021) Herbal Supplements and Kidney Disease. Available at: https://www.kidney.org/atoz/content/herbalsupp Accessed October 2021

Select Language